วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกันทางถนนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย และในอนาคตที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่4 ถนนสาย R3A ที่อำเภอเชียงของ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเรียกว่าภูลังกา เป็นยอดเขาที่มีเส้นแดนติดกันทั้ง 3 จังหวัดบนยอดเขา
จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นจังหวัดที่ใหญ่อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีพิ้นที่จังหวัดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทยและเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน


วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ที่จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา วัดร่องขุ่นได้ต้นแบบการสร้างมาจาก วัดมิ่งเมือง ใน จังหวัดน่าน

ประวัติ

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
วัดร่องขุ่นแห่งนี้เป็นวัดพุทธ ซึ่งสังกัดอยู่ในฝ่ายมหานิกาย ไม่ใช่วัดฮินดูเหมือนดังที่จั่วหัวไว้ในวรรคแรก ซึ่งนั่นการนำเอาวัฒนธรรมแวดล้อมของตัวเองเข้ามาผสมผสานหรือถูกอิทธิของศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงบ้าง ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ตามพระบัญญัติแห่งคณะสงฆ์ไทยแล้ว วัดร่องขุ่น เป็น "วัดพุทธ" ไม่ใช่ "มหายาน"





ดอยลังกาหลวง เป็นเทือกเขาสูงอยู่ระหว่างรอยต่อ 3 จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ มีความหลากหลายของทรัพยากรป่าไม้ บนยอดดอยปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและป่าสนเขา เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลที่รับความนิยมมากแห่งหนึ่ง เส้นทางเดินบนสันเขาที่มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบตัวแบบ 360 องศา เห็นธรรมชาติของผืนป่าเขียวขจีอยู่เบื้องล่าง ป่าที่มีความหลากหลายทั้งป่าดิบเขา ป่าสนเขา และทุ่งหญ้าบนดอยสูง ไม้ดอกพันธุ์ไม้ที่สูงที่เกิดตามธรรมชาติหลายชนิด กล้วยไม้ ดอกหรีดดอยลังกา และที่มีชื่อมากคือกุหลาบขาวดอยลังกาที่มีลักษณะเฉพาะจะออกดอกสวยงามในฤดูหนาว




ดอยวาวี ทุกวันนี้ เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวถามถึงกันมากขึ้น มีชื่อเสียงในฐานะเหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ในบรรยากาศท่องเที่ยวบนดอยสูงเมืองเชียงราย ได้สัมผัสกับความหนาวเย็น ชมแปลงปลูกไม้ดอกเมืองหนาวที่สวยงามภายในสถานีฯ และหมู่บ้านชาวเขาบนดอยช้าง ที่โอบล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน นับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่สวยงามแห่งหนึ่งบนสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี ชมทิวทัศน์เมืองเชียงราย ชมทะเลหมอก ทะเลภูเขา และดงดอกบัวตองที่ดอยกาดผี สัมผัสวิถีชนเผ่า เรียนรู้วัฒนธรรมชาวเขา จิบชาอู่หลงหอมกรุ่น กาแฟสดรสละมุน และที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งหลาย ที่นี่เป็นดงซากุระดอยขนาดใหญ่ มีการปูกต้นนางพญาเสือโคร่งไปแล้วมากกว่า 4 แสนต้น นักท่องเที่ยวควรมีเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน โดยทางศูนย์ฯ พร้อมที่จะให้บริการบ้านพัก จุดกางเต้นท์ ร้านค้า ร้านอาหาร ตลอดทั้งปี



ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อ บ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 จากสหภาพพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพัน คือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาวจะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น

จุดน่าสนใจบนดอยแม่สลอง เช่น ชมไร่ชาและศึกษาวิธีการผลิตชา ขี่ม้าชมทิวทัศน์รอบหมู่บ้านเจียงจาใส และอนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย ลองไปศึกษาเรื่องราวและประวัติของชาวดอยแม่สลอง โดยจะมีไกด์คอยนำชม เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต. แม่สลองนอก โทรศัพท์ 0 5376 5129


ประวัติ
ในอดีตบนดอยแห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ยังชีพด้วยด้วยการทำไร่เลื่อนลอย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เทือกดอยแถบนี้เตียนโล่งมาจนปัจจุบัน ต่อมาดอยแม่สลองเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2504 เมื่อทหารจีนกองพลที่ 93 จากมณฑลยูนนานอพยพเข้ามาอาศัยอยู่

เป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋งของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบอยู่ทางตอนใต้ของจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจสำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋งจึงถอยร่นไปปักหลักที่เกาะไต้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลังพลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนักจนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า แต่ถูกฝ่ายพม่าผลักดัน เกิดการปะทะกันหลายครั้งจนต้องถอยร่นมาจนถึงเทือกดอยตุงชายแดนไทย




ดอยตุง - พระตำหนักดอยตุง

สถานที่ท่องเที่ยวที่รายล้อมไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระตำหนักดอยตุง สวนพฤกษชาติ หรือวัดพระธาตุดอยตุงที่ตั้งอยู่บนดอย และยังห้อมล้อมด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามมากมายและข้างบนยังมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายให้พุทธศาสนิกชนได้ไปกราบสักการะบูชาเพิ่มพูนความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองอีกด้วย

เชียงราย อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒนธรรมล้านนา กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชะอุ่ม อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร ดอยตุง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอ แม่สาย

ภายหลังเกิด โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรายรอบดอยตุง ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย-พม่า 

แต่เดิม ดอยตุง เป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร จนกระทั่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ได้เสด็จมายัง "ดอยตุง" และทรงมีพระราชดำรัสว่า "ฉันจะปลูกป่าดอยตุง" หลังจากนั้นในปี 2530 รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น โดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์ กลับคืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง จนเปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดไม้ และทำไร่เลื่อนลอย หันมาทำเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักทอที่เชื่อมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป์พื้นเมืองสู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบ ตามไหล่เขาและบนดอยสูง แนบแน่นอยู่กับประเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน

แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนน ดอยตุง แล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่ง ๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อนั่งรถไปตามเส้นทางขึ้น ดอยตุง จะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัด นั่นล้วนเป็นป่าปลูกทั้งสิ้น หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้าง พระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลาย ๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น และจากเทือกเขาหัวโล้นกลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของเชียงราย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยว ดอยตุง เป็นจำนวนมาก 




ถนนพญาเสือโคร่ง ดอยแม่สลอง นี่คือผืนแผ่นดินไทยที่งดงาม ที่รายล้อมไปด้วยดอกพญาเสือโคร่ง พร้อมรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ

นี่คือผืนแผ่นดินไทยที่งดงาม ด้วยตลอดสองข้างทางที่มุ่งขึ้นสู่ ดอยแม่สลอง นั้น รายล้อมไปด้วย ดอกพญาเสือโคร่ง หรือ ดอกซากุระเมืองไทย ที่บานสะพรั่งในช่วงเดือนธันวาคม พร้อมรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ จากเมืองไกลให้มาเยือน ซึ่งเมื่อได้มายืนเด่นตระหง่านอยู่บนยอดดอยสูงแห่งนี้ แทบจะไม่อยากเชื่อสายตาเลยว่า นี่มันแผ่นดินไทยจริงๆ หรือ เพราะด้วยบรรยากาศที่หนาวเย็นจับใจในช่วงเหมันต์ ตลอดจนบรรยากาศ และทิวทัศน์ที่เห็นอยู่ตรงหน้า มันช่างให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในชนบทของประเทศจีนไม่มีผิดเพี้ยน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจาก ยอดดอยแม่สลองเป็นที่ลงหลักปักฐานของชาวจีนฮ่อแถบมณฑลยูนาน ที่ลี้ภัยมาหลบอาศัยอยู่ตั้งแต่ครั้งอดีต และพากันประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกชา และพืชผักเมืองหนาวเป็นหลัก ซึ่งชาที่โด่งดังจนเป็นที่รู้จักกันดีคือ ชาอู่หลง

ถนนพญาเสือโคร่ง ดอยแม่สลอง

นอกจากนี้ ดอยแม่สลอง ยังอบอวลไปด้วยวัฒนธรรมชาวจีน ไม่ว่าจะการแต่งกาย หรือ อาหารการกิน ซึ่งโดยเฉพาะอาหารนั้น จะเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่น ขาหมูยูนาน ที่เสริฟมาในจานใหญ่ และต้องกินเคียงคู่กับหมั่นโถเท่านั้น ถึงจะเรียกว่าต้นตำหรับ




วัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 553 ม.3 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย บนเนื้อที่ 15 ไร่  โดยมี ทิศเหนือจด ตำบลบ้านดู่   ทิศใต้จด แม่น้ำกก ต.รอบเวียง ทิศตะวันออกจด   หมู่ 2  ต.ริมกก (บ้านใหม่) ทิศตะวัดตกจด  ต. แม่ยาว โดยเริ่มก่อตั้งในปี  2544  โดยคณะศรัทธา วัดห้วยปลากั้งเริ่มกันก่อตั้ง เป็นสำนักสงฆ์  จนกระทั่ง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ได้มี พระอาจารย์พบโชค  ติสฺสวํโส ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรม แรกเริ่มบริเวณนี้ยังไม่มีวัดแบบปัจจุบัน แต่เนื่องจากพระอาจารย์พบโชคมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์ ในการทำนายทายทัก ซึ่งปรากฏว่าผู้คนที่มาดูดวง ส่วนใหญ่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตน ตามความเชื่อส่วนบุคคล และได้ประสบผลสำเร็จในชีวิตทำให้พระอาจารย์พบโชคเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งภาคเหนือและทั่วประเทศในที่สุด




แหล่งข้อมูล//https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2&rlz=1C1CHMC_thTH575TH578&espv=2&biw=1440&bih=775&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=IR8dVIjRN47kuQSIzILQCA&ved=0CAYQ_AUoAQ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น