วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเพณีจังหวัดเชียงราย


ประเพณีจังหวัดเชียงราย


ยี่เป็ง เป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ วันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว อากาศ ปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียม ปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือการจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวง สวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต
ในภาษาคำเมืองของทางเหนือคำว่า”ยี่” แปลว่า “สอง”และคำว่า “เป็ง” หมายถึง “เพ็ญ” หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นประเพณียี่เป็ง จึงหมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง
ประเพณีเดือนยี่เป็งนับเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมานับตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่15 แห่งอาณาจักรหริภุญชัย มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับมายังบ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึง วันที่จากบ้านจากเมืองไปจึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำเพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ ในงานบุญ”ยี่เป็ง”ยังมีการเทศน์มหาชาติ

ประเพณีปอยส่างลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน ดังปรากฏว่าหลักฐานว่าประเพณีนี้มีมาตั้งแต่มีการสร้างแปลนเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็ ได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆปี เนื่องจากเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
ก่อนที่จะถึงวันประเพณีปอยส่างลองหนึ่งวัน เด็กชายผู้ชายทุกคนที่เข้าร่วมประเพณีนี้จะต้องปลงผมและอาบน้ำให้สะอาดที่สุด และเจิมด้วยน้ำหอมเพื่อให้มีกลิ่นหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆอย่างอลังการ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใส่เครื่องประดับที่เป็นของจริงโดยมากจะเป็นเพชร พลอย และทองที่ทำขึ้นมาเหมือนจริงเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะกลัวของมีค่าสูญหายระหว่างการแห่ส่างลอง แต่ก็มีบางคนที่มีฐานะให้ลูกหลานใส่ของจริงก็มี นอกจากนั้นก็ยังมีการแต่งหน้าแต่งตาด้วยสีสันที่จัดจ้านให้ส่างลอง(ลูกแก้ว) ดูสวยงามมีสง่าราศีเหนือคนทั่วไป

  เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย




ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์
  จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน






คำขวัญประจำจังหวัด





คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย
 เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง 
คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย เป็นคำขวัญแต่งเพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ 
ของจังหวัดเชียงราย ความภาคภูมิใจ ของชาวเชียงราย และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดเชียงราย 
แหล่งที่มา  https://sites.google.com/site/bestpornpan/swasdi-cheiyngray/khakhway-praca-canghwad



ดอกพวงแสด ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย


ดอกพวงแสด ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย



พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี

ตราประจำจังหวัดเชียงราย



ตราประจำจังหวัดเชียงรายนั้นเป็นรูปช้างสีขาวด้านบนเป็นรูปก้อนเมฆแห่งความเจริญรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นเป็นสีม่วงของวันเสาร์ ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย และเป็นสีประจำจังหวัด
ความเป็นมาในอดีตพ่อขุนมังรายได้ใช้ช้างเป็นกำลังสิงหาคมญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ว่ากันว่า ช้างทรงของพ่อขุนมังรายได้หลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พ่อขุนมังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทอง ริมแม่น้ำกก และเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดีและอุดมสมบูรณ์ จึงได้สร้างเมืองขึ้นโปรดให้ตั้งชื่อว่า “เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังราย

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

เมืองเชียงราย



facebook


แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกันทางถนนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย และในอนาคตที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่4 ถนนสาย R3A ที่อำเภอเชียงของ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเรียกว่าภูลังกา เป็นยอดเขาที่มีเส้นแดนติดกันทั้ง 3 จังหวัดบนยอดเขา
จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นจังหวัดที่ใหญ่อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีพิ้นที่จังหวัดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทยและเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน


วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ที่จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา วัดร่องขุ่นได้ต้นแบบการสร้างมาจาก วัดมิ่งเมือง ใน จังหวัดน่าน

ประวัติ

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
วัดร่องขุ่นแห่งนี้เป็นวัดพุทธ ซึ่งสังกัดอยู่ในฝ่ายมหานิกาย ไม่ใช่วัดฮินดูเหมือนดังที่จั่วหัวไว้ในวรรคแรก ซึ่งนั่นการนำเอาวัฒนธรรมแวดล้อมของตัวเองเข้ามาผสมผสานหรือถูกอิทธิของศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงบ้าง ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ตามพระบัญญัติแห่งคณะสงฆ์ไทยแล้ว วัดร่องขุ่น เป็น "วัดพุทธ" ไม่ใช่ "มหายาน"





ดอยลังกาหลวง เป็นเทือกเขาสูงอยู่ระหว่างรอยต่อ 3 จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ มีความหลากหลายของทรัพยากรป่าไม้ บนยอดดอยปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและป่าสนเขา เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลที่รับความนิยมมากแห่งหนึ่ง เส้นทางเดินบนสันเขาที่มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบตัวแบบ 360 องศา เห็นธรรมชาติของผืนป่าเขียวขจีอยู่เบื้องล่าง ป่าที่มีความหลากหลายทั้งป่าดิบเขา ป่าสนเขา และทุ่งหญ้าบนดอยสูง ไม้ดอกพันธุ์ไม้ที่สูงที่เกิดตามธรรมชาติหลายชนิด กล้วยไม้ ดอกหรีดดอยลังกา และที่มีชื่อมากคือกุหลาบขาวดอยลังกาที่มีลักษณะเฉพาะจะออกดอกสวยงามในฤดูหนาว




ดอยวาวี ทุกวันนี้ เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวถามถึงกันมากขึ้น มีชื่อเสียงในฐานะเหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ในบรรยากาศท่องเที่ยวบนดอยสูงเมืองเชียงราย ได้สัมผัสกับความหนาวเย็น ชมแปลงปลูกไม้ดอกเมืองหนาวที่สวยงามภายในสถานีฯ และหมู่บ้านชาวเขาบนดอยช้าง ที่โอบล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน นับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่สวยงามแห่งหนึ่งบนสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี ชมทิวทัศน์เมืองเชียงราย ชมทะเลหมอก ทะเลภูเขา และดงดอกบัวตองที่ดอยกาดผี สัมผัสวิถีชนเผ่า เรียนรู้วัฒนธรรมชาวเขา จิบชาอู่หลงหอมกรุ่น กาแฟสดรสละมุน และที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งหลาย ที่นี่เป็นดงซากุระดอยขนาดใหญ่ มีการปูกต้นนางพญาเสือโคร่งไปแล้วมากกว่า 4 แสนต้น นักท่องเที่ยวควรมีเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน โดยทางศูนย์ฯ พร้อมที่จะให้บริการบ้านพัก จุดกางเต้นท์ ร้านค้า ร้านอาหาร ตลอดทั้งปี



ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อ บ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 จากสหภาพพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพัน คือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาวจะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น

จุดน่าสนใจบนดอยแม่สลอง เช่น ชมไร่ชาและศึกษาวิธีการผลิตชา ขี่ม้าชมทิวทัศน์รอบหมู่บ้านเจียงจาใส และอนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย ลองไปศึกษาเรื่องราวและประวัติของชาวดอยแม่สลอง โดยจะมีไกด์คอยนำชม เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต. แม่สลองนอก โทรศัพท์ 0 5376 5129


ประวัติ
ในอดีตบนดอยแห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่ยังชีพด้วยด้วยการทำไร่เลื่อนลอย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เทือกดอยแถบนี้เตียนโล่งมาจนปัจจุบัน ต่อมาดอยแม่สลองเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2504 เมื่อทหารจีนกองพลที่ 93 จากมณฑลยูนนานอพยพเข้ามาอาศัยอยู่

เป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋งของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบอยู่ทางตอนใต้ของจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจสำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋งจึงถอยร่นไปปักหลักที่เกาะไต้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลังพลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนักจนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า แต่ถูกฝ่ายพม่าผลักดัน เกิดการปะทะกันหลายครั้งจนต้องถอยร่นมาจนถึงเทือกดอยตุงชายแดนไทย




ดอยตุง - พระตำหนักดอยตุง

สถานที่ท่องเที่ยวที่รายล้อมไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระตำหนักดอยตุง สวนพฤกษชาติ หรือวัดพระธาตุดอยตุงที่ตั้งอยู่บนดอย และยังห้อมล้อมด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามมากมายและข้างบนยังมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองเชียงรายให้พุทธศาสนิกชนได้ไปกราบสักการะบูชาเพิ่มพูนความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองอีกด้วย

เชียงราย อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒนธรรมล้านนา กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชะอุ่ม อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร ดอยตุง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอ แม่สาย

ภายหลังเกิด โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรายรอบดอยตุง ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย-พม่า 

แต่เดิม ดอยตุง เป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร จนกระทั่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ได้เสด็จมายัง "ดอยตุง" และทรงมีพระราชดำรัสว่า "ฉันจะปลูกป่าดอยตุง" หลังจากนั้นในปี 2530 รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น โดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์ กลับคืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง จนเปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดไม้ และทำไร่เลื่อนลอย หันมาทำเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักทอที่เชื่อมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป์พื้นเมืองสู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบ ตามไหล่เขาและบนดอยสูง แนบแน่นอยู่กับประเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน

แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนน ดอยตุง แล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่ง ๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อนั่งรถไปตามเส้นทางขึ้น ดอยตุง จะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัด นั่นล้วนเป็นป่าปลูกทั้งสิ้น หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้าง พระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลาย ๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น และจากเทือกเขาหัวโล้นกลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของเชียงราย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยว ดอยตุง เป็นจำนวนมาก 




ถนนพญาเสือโคร่ง ดอยแม่สลอง นี่คือผืนแผ่นดินไทยที่งดงาม ที่รายล้อมไปด้วยดอกพญาเสือโคร่ง พร้อมรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ

นี่คือผืนแผ่นดินไทยที่งดงาม ด้วยตลอดสองข้างทางที่มุ่งขึ้นสู่ ดอยแม่สลอง นั้น รายล้อมไปด้วย ดอกพญาเสือโคร่ง หรือ ดอกซากุระเมืองไทย ที่บานสะพรั่งในช่วงเดือนธันวาคม พร้อมรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ จากเมืองไกลให้มาเยือน ซึ่งเมื่อได้มายืนเด่นตระหง่านอยู่บนยอดดอยสูงแห่งนี้ แทบจะไม่อยากเชื่อสายตาเลยว่า นี่มันแผ่นดินไทยจริงๆ หรือ เพราะด้วยบรรยากาศที่หนาวเย็นจับใจในช่วงเหมันต์ ตลอดจนบรรยากาศ และทิวทัศน์ที่เห็นอยู่ตรงหน้า มันช่างให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในชนบทของประเทศจีนไม่มีผิดเพี้ยน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจาก ยอดดอยแม่สลองเป็นที่ลงหลักปักฐานของชาวจีนฮ่อแถบมณฑลยูนาน ที่ลี้ภัยมาหลบอาศัยอยู่ตั้งแต่ครั้งอดีต และพากันประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกชา และพืชผักเมืองหนาวเป็นหลัก ซึ่งชาที่โด่งดังจนเป็นที่รู้จักกันดีคือ ชาอู่หลง

ถนนพญาเสือโคร่ง ดอยแม่สลอง

นอกจากนี้ ดอยแม่สลอง ยังอบอวลไปด้วยวัฒนธรรมชาวจีน ไม่ว่าจะการแต่งกาย หรือ อาหารการกิน ซึ่งโดยเฉพาะอาหารนั้น จะเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่น ขาหมูยูนาน ที่เสริฟมาในจานใหญ่ และต้องกินเคียงคู่กับหมั่นโถเท่านั้น ถึงจะเรียกว่าต้นตำหรับ




วัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 553 ม.3 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย บนเนื้อที่ 15 ไร่  โดยมี ทิศเหนือจด ตำบลบ้านดู่   ทิศใต้จด แม่น้ำกก ต.รอบเวียง ทิศตะวันออกจด   หมู่ 2  ต.ริมกก (บ้านใหม่) ทิศตะวัดตกจด  ต. แม่ยาว โดยเริ่มก่อตั้งในปี  2544  โดยคณะศรัทธา วัดห้วยปลากั้งเริ่มกันก่อตั้ง เป็นสำนักสงฆ์  จนกระทั่ง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ได้มี พระอาจารย์พบโชค  ติสฺสวํโส ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรม แรกเริ่มบริเวณนี้ยังไม่มีวัดแบบปัจจุบัน แต่เนื่องจากพระอาจารย์พบโชคมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์ ในการทำนายทายทัก ซึ่งปรากฏว่าผู้คนที่มาดูดวง ส่วนใหญ่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตน ตามความเชื่อส่วนบุคคล และได้ประสบผลสำเร็จในชีวิตทำให้พระอาจารย์พบโชคเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งภาคเหนือและทั่วประเทศในที่สุด




แหล่งข้อมูล//https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2&rlz=1C1CHMC_thTH575TH578&espv=2&biw=1440&bih=775&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=IR8dVIjRN47kuQSIzILQCA&ved=0CAYQ_AUoAQ

ประวัติเมืองเชียงราย


ประวัติเมืองเชียงราย 

          จากการศึกษาด้านตำนานพื้นเมืองต่าง ๆ นักวิชาการท้องถิ่นของเชียงรายกล่าวว่าเรื่องราวเกี่ยวด้วยเรื่องการตั้งอาณาจักรต่าง ๆ ที่เป็นดินแดนของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันนั้นได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือ เป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน ตัวหนังสืออักษรธรรมล้านนา ตำนานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า ตำนานโยนกนครราชธานี ไชยบุรีศรีช้างแสง เช่น ตำนานสิงหนวัติ เป็นต้น แต่ละเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโยนกทั้งสิ้น จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพงสาวดารโยนก อีกประการหนึ่งจะเกี่ยวพันกับอาณาจักรโบราณต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน          ตามแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยในหลายความคิด ได้มีความเชื่อว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่ทางประเทศจีนมาก่อน ในยุคที่ชนชาติไทยเรากำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้น ถิ่นที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายนี้เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งเรียกว่า “ลัวะ” (หรือลังวะ หรือละว้า) และชาวป่าพวกอื่นอาศัยอยู่
          ครั้งนั้น ราว พ.ศ. 50 ไทยเผ่าหนึ่งเรียกว่า อ้ายลาว ตั้งอาณาจักรอยู่ที่นครปา ถูกจีนรุกรานหนักเข้า จึงอพยพมาตั้งอยู่บริเวณเมืองเล็ม เชียงรุ้ง เชียงลาว ริมแม่น้ำสาย ตั้งราชวงศ์ขึ้นปกครองสืบต่อกันมาจนถึงสมัย ลวจักราช จึงได้ลงมาตั้งเมืองที่ตำบลยางเสี่ยวใกล้ดอยตุง เรียกว่า เชียงลาว
          ราวพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากจีนตอนใต้ มาสมทบไทยที่เมืองเชียงลาวมากขึ้นทุกที จึงได้ขยายเมืองให้กว้างขวางขึ้นอีก เรียกว่า แคว้นยุนซาง หรือยวนเซียง มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (อำเภอเวียงป่าเป้าในปัจจุบันนี้) เวียงฮ่อ ดงเวียง เวียงวัง แจ้ห่ม เชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. 590 เป็นต้นมา
          ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 11 ขอมมีอำนาจถึงอาณาจักรโครตบูรณ์ จึงยกเข้ามาตีแคว้นยวนเซียง ขับไล่ชาวไทย แล้วตั้งเมืองขึ้นที่เชียงแสน เรียกว่า สุวรรณโคมคำ บริเวณที่เคยเป็นเมืองเชียงลาว ใกล้ฝั่งน้ำโขง และได้สร้างเมือง อุมงคเสลา ที่เมืองฝาง ต้นลำน้ำกก อาณาเขตสุวรรณโคมคำของขอมครั้งนั้น ทิศเหนือจดถึงเมืองหนองแส ทิศใต้จนฝายนาค (ลีผี) ตะวันออกถึงแม่น้ำแตก (แม่น้ำแท้) ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำตู แต่ขอมปกครองไทยอย่างป่าเถื่อนและทารุณจนไทยเราอพยพจากเมืองสุวรรณโคมคำกระจัดกระจายไปอีก ขอมจึงย้ายไปตั้งเมืองอุมงคเสลา (เมืองฝางในปัจจุบัน) ทิ้งให้เมืองสุวรรณโคมคำร้างไว้)
          เจ้าสิงหนวัติกุมาร โอรสพระเจ้าเทวกาล กษัตริย์เมืองหนองแส เป็นชั้นหลานปู่ของขุนบรม ได้อพยพคนไทยประมาณแสนครัวจากหนองแส (ตาลิฟู) ลงมาสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น แล้วขนานนามว่า เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร ภายหลังเรียกสั้น ๆ ว่า นาเคนทร์นคร, นาคบุรี, โยนกนาคนคร และโยนกนครหลวง เป็นต้น (คือเมืองเชียงแสนในปัจจุบัน)
          พระเจ้าสิงหนวัติครองราชย์สมบัติในโยนกนครหลวงได้ 52 ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1367 มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายองค์ องค์ที่สำคัญ ๆ เช่น รัชกาลที่ 3 พระเจ้าอชุตราช ผู้สร้างมหาสถูปดอยตุง ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงรายและล้านนาไทย
รัชกาลที่ 4 พระเจ้ามังรายนราช (โอรสพระเจ้าอชุตราช) พระองค์มีโอรส 2 พระองค์ องค์ใหญ่มีพระนามว่า พระองค์เชือง องค์เล็กมีพระนามว่า ไชยนารายณ์ รัชกาลที่ 5 พระองค์เชือง (ราชโอรสพระเจ้ามังรายนราช ครองเมืองโยนกนครหลวงต่อมา)
ส่วนโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้ามังรายนราช มีพระนามว่า พระองค์ไชยนารายณ์ ซึ่งเป็นพระองค์น้อง ได้ไปสร้างเมืองใหม่ที่ตำบลดอนมูล ริมแม่น้ำลาว (น้ำกาหลง) เรียกว่าเมืองไชยนารายณ์

          พระองค์ไชยนารายณ์ ได้ครองเมืองไชยนารายณ์ และมีกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงองค์ที่ 27 มีพระนามว่า พระองค์พังคราช ชาติไทยได้อ่อนกำลังลง ขอมซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอุมงคเสลา ได้ยกทัพเข้าตีเมืองโยนกนาคนคร พระองค์พังคราชหนีไปอยู่เวียงสีทวง แต่นั้นมาไทยก็เป็นเมืองขึ้นของขอมเรื่อยมา ใน พ.ศ. 1461 พระมเหสีก็ได้ประสูติพระโอรส มีพระนามว่า เจ้าทุกขิตกุมาร และต่อมา พ.ศ. 1436 พระมเหสีก็ประสูติเจ้าพรหม กุมารอีกพระองค์หนึ่ง
          ครั้งเจ้าพรหมกุมารมีพระชนมายุ 17 พรรษา ทรงแกล้วกล้าในการรบพุ่ง อย่างยิ่ง ได้ขับไล่ขอมจนสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 1479 แล้วเชิญพระราชบิดาไปครองเมืองโยนกนาคนครต่อไป เจ้าพรหมกุมารตีได้เมืองอุมงคเสลาซึ่งมีอำนาจร่วม 500 ปีแตก ขับไล่ขอมจนถึงเมืองหริภุญไชย และเมืองกำแพงเพชรจนหมดสิ้นเชื้อชาติขอมในอาณาจักรโยนก พระองค์สร้างเมืองอุมงคเสลาขึ้นใหม่ ขนานนามว่า เมืองไชยปราการ ในปี พ.ศ. 1479 นั้นเอง อนึ่ง เมืองโยนกนาคนครก็เปลี่ยนนามใหม่ว่า เวียงไชยบุรี เพื่อระลึกถึงชัยชนะของพระองค์
          พระเจ้าพรหมนครองเมืองไชยปราการต่อมา เสด็จสวรรคต พ.ศ. 1582 ก็ได้เสียเมืองให้แก่ขุนเสือขวัญฟ้า (บางฉบับก็ว่าพระยาสุธรรมวดี) แม้กษัตริย์ที่เมืองนครไชยบุรีและนครไชยนารายณ์จะยกทัพมาช่วยก็สู้ข้าศึกไม่ได้ พระเจ้าไชยศิริจึงรับสั่งให้เผาเมือง แล้วอพยพผู้คนพลเมืองหนีมาทางใต้ ไปตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทองเพื่อตั้งตัวต่อไป
          ยังมีกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า ลาวจก หรือลาวจง ปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จังกราช (คำว่า ลว เป็นชื่อราชวงศ์ ไม่ใช่ลัวะหรือละว้าซึ่งเป็นชื่อชาวป่าชาวเขา) ซึ่งครองเมืองเชียงลาว (แคว้นจก) ได้ขยายอำนาจมาจนถึงเมืองเงินยาง จนรวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้วได้ขนานนามเมืองว่า หิรัญนครเงินยาง และมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ที่ได้กล่าวมานี้ เป็นสังเขปประวัติความเป็นมาก่อนสร้างเมืองเชียงราย นับเป็นประวัติความเป็นมาของชาติไทยในดินแดนภาคเหนือ อันมีนครโยนกเป็นราชธานีตามการศึกษาจากตำนานพื้นเมือง
          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบางยุคบางสมัยในดินแดนเหล่านี้ บางครั้งก็มีความคลาดเคลื่อนกันไป ทั้งทางด้านสถานที่ หรือด้านของเวลา จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนว่าหลักฐานใดถูกต้อง สำหรับอาณาจักรโบราณและเมืองต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ที่ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้ 
          1. ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน
          2. ยุคหิรัญนครเงินยาง
          3. ยุคเชียงราย (มังราย)
          4. ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต